วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning)

       http://www.pochanukul.com/?p=157  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning)ไว้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning)มีหลักการ  คือ
    การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย มีสมาชิก 3-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน สมาชิกช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย การพึ่งพาและเกื้อกูลกันการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด, ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน, การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย, และ การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงาน
     การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย กำหนดจุดมุ่งหมาย ขนาดกลุ่ม องค์ประกอบของกลุ่ม บทบาทของสมาชิก สถานที่ และงานที่กำหนดให้ผู้เรียนทำ
2. ด้านการสอน ประกอบด้วย อธิบายและชี้แจงการทำงานของกลุ่ม เกณฑ์การประเมิน การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม การตรวจสอบความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละคน และพฤติกรรมที่ความหวัง
3. ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม ประกอบด้วย  ดูแลให้สมาชิกกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรง ช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม และสรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และวิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
    ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ
3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

     http://dontong52.blogspot.com/   กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน

1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
   2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
   3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
   4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
   5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
   2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
   3) สุขภาพจิตดีขึ้น

3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
   2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
   3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
         อาจสรุปได้ว่าแนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
   2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
   3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
   4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
   5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม

ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
   2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
   3) สุขภาพจิตดีขึ้น

ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
   2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
     การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย กำหนดจุดมุ่งหมาย ขนาดกลุ่ม องค์ประกอบของกลุ่ม บทบาทของสมาชิก สถานที่ และงานที่กำหนดให้ผู้เรียนทำ
2. ด้านการสอน ประกอบด้วย อธิบายและชี้แจงการทำงานของกลุ่ม เกณฑ์การประเมิน การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม การตรวจสอบความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละคน และพฤติกรรมที่ความหวัง
3. ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม ประกอบด้วย  ดูแลให้สมาชิกกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรง ช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม และสรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และวิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

อ้างอิง
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. (onlinehttp://www.pochanukul.com/?p=157 .  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
         (Collaborative Learning). สืบค้นเมื่อวันที่  10  กันยายน  2558.
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htmทฤษฎีการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อวันที่  10  กันยายน  2558.
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52. (online) http://dontong52.blogspot.com/                           
รายงานเรื่องจิตวิทยาการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่  10  กันยายน  2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น